วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความผูกพันของชาวตุรกี (เติร์ก) กับศาสนาอิสลาม

บทความ - อัจฉริยภาพของเหล่าสุลต่อนแห่งมหาอาณาจักรอุษมานียะฮ


มุฮำมัด ญะมีล บัยฮัมฺ กล่าวไว้ในหนังสือ “อาหรับและชาวเติร์ก” ว่า : ชาวเติร์กได้มุ่งหน้าสู่ศาสนาของมุฮำมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เป็นหมู่คณะพวกเขาได้แปรเปลี่ยนจากศัตรูตัวฉกาจของอิสลามสู่การเป็นผู้ พิทักษ์อิสลามที่มีความยึดมั่นต่ออิสลามอย่างแรงกล้า และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ยืนยันถึงบุคลิกภาพแห่งอิสลามของมหาอาณาจักรอุษมานี ยะฮฺก็คือ ชาวเติร์กเรียกขานทหารชาวตุรกีว่า เมฮฺเมตฺซีก (Mahmatcik) หมายถึง “ทหารแห่งมุฮำมัด” บรรดาคำประกาศของราชสำนักและกฎหมายต่าง ๆ ที่ออกจากราชสำนักอุษมานียะฮฺ จะประกาศในนามของ “เดาลัต อัลอะลียะฮฺ อัลมุฮำมะดียะฮฺ” เสมอ

อะฮฺมัด ร่อฟีก นักประวัติศาสตร์ชาวตุรกี กล่าวไว้ในหนังสือสารานุกรมของเขาที่ชื่อ “อัตตารีค อัลอุมูมีย์ อัลกะบีร” ว่า : “อุ ษมาน อิบนุ อุรตุฆฺรุ้ล มีความเคร่งครัดต่อศาสนาเป็นอันมาก เขาเชื่อว่าการเผยแผ่ศาสนาอิสลามและทำให้อิสลามแพร่ไปทั่วทุกดินแดนคือ ภารกิจอันศักดิ์สิทธิสำหรับเขา”

ดอฮฺสัน (Dohsson) นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า : “ไม่ ว่าในยามสงบ หรือในเรื่องการสงคราม และไม่ว่าการตรากฎหมายในด้านการเมืองการปกครองหรือระบบการทหาร และไม่ว่าจะเป็นการสำเร็จโทษด้วยการประหารทั้งจากเสนาบดีหรือแม่ทัพใหญ่ ฝ่ายมุขมนตรีและเหล่าเสนาบดีมักจะหันไปพึ่งมุฟตีย์เพื่อขอคำปรึกษาในเรื่อง นั้น ๆ และบ่อยครั้งที่มีการหารือกับมุฟตีย์ในปัญหาต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอแก่มุฟตีย์นั่นเป็นเพราะว่าการอ้างสิทธิอันชอบธรรมในการ ปกครองเพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ แต่ถือกันว่าเป็นภารกิจจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปยังบรรดาผู้นำทางศาสนาใน การพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ของอาณาจักรเสมอ”

เฮอเบิร์ต อาร์เมอซ์ จิปฺปอนซ์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษได้ยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เอาไว้ในหนังสือ ของเขาที่ชื่อ : การสถาปนาจักรวรรดิออตโตมาน” ซึ่งเขาเขียนขึ้น ในปีคศ.1794 และตีพิมพ์ในปีคศ.1916 ว่า : “การกำเนิดขึ้นของอาณาจักรออตโตมาน (อุษมานียะฮฺ) เป็นไปด้วยแรงขับแห่งทิฐิทางศาสนาซึ่งพวกเติร์ก (ตุรกี) เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องนั้น”

มุฮำมัด ญะมีล บัยฮัม กล่าวไว้ในหนังสือ “อาหรับและชาวเติร์ก” ว่า : “ความเคร่งครัดที่มีต่อศาสนาอิสลามของชาวอุษมานีย์ตุรกี เป็นสิ่งที่มีความเข้มข้นจริงจังและเด็ดเดี่ยว โดยที่มุฟตีย์ของศาสนาอิสลามในรัชสมัยของสุลต่อนส่าลีม ข่านที่ 3 ได้มีคำฟัตวา (คำวินิจฉัยทางศาสนา) ถอดสุลต่อนออกจากพระราชอำนาจ ในปีฮ.ศ.1229/คศ.1807 ด้วยเหตุที่พระองค์นำเอาระเบียบแบบแผนของพวกฝรั่งตะวันตกที่ขัดต่อหลักคำสอน ของศาสนาอิสลามเข้ามาบังคับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการถอดสุลต่อนส่า ลีม ข่านที่ 3 ออกจากพระราชอำนาจก็เป็นไปอย่างสมบูรณ์ตามคำชี้ขาดของฟัตวานั้น”

และท่าทีของสุลต่อนมุร๊อด ข่านพระราชโอรสของสุลต่อนอูรุคฺ ข่านที่มีต่อเซาว์ญี่ย์ โอรสของพระองค์ ถือเป็นจุดสุดยอดแห่งความสัจจริงในความเคร่งครัดของชาวอุษมานีย์ตุรกีที่มี ต่อศาสนาอิสลามและข้อชี้ขาดของหลักนิติธรรมอิสลาม

ในขณะที่ เซาว์ญี่ย์โอรสของสุลต่อนมุร๊อด ข่าน สมรู้ร่วมคิดกับเจ้าชายเอ็นเดอร์นีกุส โอรสของจักรพรรดิจูวานีส แห่งไบแซนไทน์ บุคคลทั้ง 2 ได้นำกองทัพจากไบแซนไทน์และทหารอุษมานียะฮฺบางส่วนที่ถูกหลอกเข้าทำสงครามรบ พุ่งกับกองทัพอิสลามแห่งอุษมานียะฮฺ ผลของการรบพุ่งจบลงด้วยความปราชัยของฝ่ายที่คิดการใหญ่ เจ้าชายเซาว์ญี่ย์ ตกเป็นเชลยศึกและสุลต่อนมุร๊อด ข่าน

พระราชบิดาของพระองค์ก็ทรงยืนกรานที่จะนำเรื่องของเจ้าชายเข้าสู่การพิจารณา ตัดสินของเหล่านักปราชญ์และตุลาการแห่งนิติธรรมอิสลาม ซึ่งตัดสินให้สำเร็จโทษเจ้าชายเซาว์ญี่ย์ตามโทษานุโทษที่ก่อการขบถต่อประมุข ของรัฐอิสลาม และการเป็นพันธมิตรกับเหล่าผู้ปฏิเสธเพื่อทำสงครามกับชาวมุสลิม และในขณะที่บรรดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ทูลขอพระกรุณาจากสุลต่อนให้ทรงพระ ราชทานอภัยโทษและเนรเทศเจ้าชายเซาว์ญี่ย์เพียงแค่นั้น ทว่าสุลต่อนมุร๊อด ข่านซึ่งทรงเป็นผู้ศรัทธาที่มีความเคร่งครัดได้ทรงยืนกรานที่จะนำข้อชี้ขาด ของหลักนิติธรรมอิสลาม มาดำเนินการกับโอรสของพระองค์ กล่าวคือ ให้สำเร็จโทษด้วยการประหารชีวิตสถานเดียว

อ.อาลี เสือสมิง

คำสั่งเสียของเหล่าสุลต่อนอุษมานียะฮฺ

บทความ - อัจฉริยภาพของเหล่าสุลต่อนแห่งมหาอาณาจักรอุษมานียะฮ

สุลต่อนอุษมาน อิบนุ อัรฏุฆฺรุ้ล ผู้สถาปนามหาอาณาจักรอุษมานียะฮฺทรงสั่งเสียอูรุคข่าน โอรสของพระองค์ตามคำบันทึกของกามิล ปาชา มหาเสนาบดีในตารีค ซิยาซีย์ เดาลัต อะลียะฮฺ อุษมานียะฮฺว่า :

โอ้ ลูกรักของข้า เจ้าจงรู้เถิดว่า การเผยแผ่ศาสนาอิสลามและการชี้นำผู้คนสู่ศาสนาอิสลาม และการปกป้องเกียรติยศและทรัพย์สินของชาวมุสลิมนั้นคือ ภารกิจที่ต้นคอของเจ้า ซึ่งพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) จะทรงสอบสวนเจ้าถึงภารกิจนั้น



กอ ดิร มิซฺร์ อุฆฺลู นักประวัติศาสตร์ชาวตุรกีร่วมสมัย ถ่ายทอดคำสั่งเสียของสุลต่อนอุษมานที่มีต่ออูรุคข่าน โอรสของพระองค์ในหนังสือ : โศกนาฏกรรมของวงศ์อุษมานว่า :

โอ้ ลูกรักของข้า ตัวพ่อนี้จักต้องกลับสู่พระผู้อภิบาลเป็นแน่แท้ และพ่อก็ภาคภูมิใจว่าเจ้าจักเป็นผู้ผดุงความยุติธรรมในหมู่ประชาราษฎร์ เป็นผู้ต่อสู้ในวิถีทางแห่งเอกองค์อัลลอฮฺเพื่อที่เราจักได้เผยแผ่ศาสนาอิส ลามให้ขจรขจายออกไป

โอ้ลูกรักของข้า พ่อขอสั่งเสียให้เจ้าจงยึดมั่นในบรรดาปราชญ์แห่งประชาชาติ เจ้าจงใส่ใจต่อพวกเขาเป็นเนืองนิตย์ และจงให้เกียรติพวกเขามากมาก และเจ้าจงปรึกษาหารือกับพวกเรา เพราะพวกเขาจะไม่ใช้ให้กระทำสิ่งใดนอกจากความดี

โอ้ลูกรักของข้า เจ้าจงพึงระวังให้จงหนักในการที่เจ้าจะกระทำเรื่องใดก็ตามที่พระองค์อัล ลอฮฺ (ซ.บ.) ไม่พึงพอพระทัย เมื่อเจ้ามีเรื่องลำบากใจ เจ้าจงสอบถามบรรดาปราชญ์แห่งนิติธรรม เพราะพวกเขาจะชี้แนะเจ้าให้กระทำสิ่งดีงาม

โอ้ลูกรักของข้า เจ้าจงรู้เถิดว่าแนวทางหนึ่งเดียวของเราในโลกนี้คือแนวทางของพระองค์อัล ลอฮฺ (ซ.บ.) และเป้าหมายหนึ่งเดียวของเราก็คือการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์ และเรามิใช่ผู้แสวงหาลาภยศสรรเสริญและโลกใบนี้



อับดุลกอดิร ซาดะฮฺ อูฆฺลู นักประวัติศาสตร์ชาวตุรกีร่วมสมัยได้ถ่ายทอดคำสั่งเสียของสุลต่อนอุษมานเอา ไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ : “อัตตารีค อัลอุษมานีย์ อัลมุเซาวฺวัรด้วยอีกสำนวนหนึ่งว่า :

คำ สั่งเสียอันดับแรกของข้าที่มีต่อบรรดาลูกหลานของข้าและเหล่าผู้มีเกียรติ สำหรับข้าทั้งปวง คือ พวกเขาจะต้องไม่ละทิ้งการต่อสู้ (ญิฮาด) ในวิถีทางแห่งการเทิดทูนพระดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ให้สูงเด่น และการเผยแผ่ศาสนาอิสลามอันทรงเกียรติ ตลอดจนการชูธงแห่งศาสดามุฮำหมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ให้สูงล้ำ และเวลาของพวกเจ้าทั้งหลายจงใช้ไปในการรับใช้ศาสนาอิสลาม และเผยแผ่ถ้อยคำแห่งเอกานุภาพในทิศานุทิศของโลกทั้งปวง ข้าขอกล่าวแก่พวกเจ้าว่า : ตัวข้านี้วิงวอนขอต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ว่าขอพระองค์ทรงหักห้ามการอนุเคราะห์ของศาสดามุฮำมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ในวันปรโลก จากบุคคลทุกคนในหมู่พวกเจ้าที่ห่างเหินจากแนวทางแห่งอิสลาม อธรรมต่อผู้คนและละทิ้งการญิฮาด



คำสั่งเสียของสุลต่อนมุฮำหมัด อัลฟาติฮฺ ข่าน แก่บายะซีด โอรสของพระองค์ ตามรายงานของแหล่งอ้างอิงในภาษาตุรกี (เติร์กิชฺ) :

โอ้ ลูกรักของข้า แท้จริงการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในโลกคือ หน้าที่ของเหล่ากษัตริย์บนหน้าโลก ดังนั้นเจ้าจงทำการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) อย่างสุดความสามารถ

โอ้ลูกรักของข้า จงทำให้ถ้อยคำของศาสนาอยู่เหนือทุกคำพูด และเจ้าจงระวังต่อ การที่เจ้าจะหลงลืมเพิกเฉยจากเรื่องหนึ่งเรื่องใดของศาสนา จงทำให้บรรดาผู้ไม่ใส่ใจต่อเรื่องราวของศาสนาห่างไกลจากตัวเจ้า และเจ้าจงพึงระวังต่อการที่เจ้าจะดำเนินเบื้องหลังบรรดาอุตริกรรมที่น่าชัง

โอ้ลูกรักของข้า จงสร้างความใกล้ชิดกับบรรดานักปราชญ์และจงเทิดทูนพวกเขาให้สูงส่ง เพราะพวกเขาคือคลังแห่งความรู้

โอ้ ลูกรักของข้า จงระวังต่อการที่ทรัพย์สินและเหล่าทหารอันมากมายทำให้เจ้าเพลิดเพลินไปกับ มัน และเจ้าจงระวังต่อการฝ่าฝืนบัญญัติของศาสนาในเรื่องใด ๆ ก็ตาม และจงมุ่งมั่นต่อศาสนา เพราะศาสนาคือความเร้นลับแห่งชัยชนะของเรา



ธรรมนูญแห่งมหาอาณาจักรอุษมานียะฮฺ ได้กำหนดภารกิจของเหล่าสุลต่อนในราชวงศ์เอาไว้ ดังนี้


1. สุลต่อนต้องอ่อนน้อมต่อหลักนิติธรรมอิสลามโดยดุษฎี
2. สุลต่อนต้องให้เกียรติและเทิดทูนต่อหลักนิติธรรมอิสลามและบรรดานักปราชญ์แห่งอิสลาม
3. สุลต่อนต้องพิทักษ์สถานที่ศักดิ์สิทธิของชาวมุสลิมและจัดระเบียบกิจการฮัจญ์ด้วยความใส่พระทัย
4. สุลต่อนต้องปกป้องดินแดนหัวเมืองของชาวมุสลิมจากการรุกรานของเหล่าอริราชศัตรู


อ.อาลี เสือสมิง

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ศาสนสถานนาม “กุฎี” ในฝั่งธนบุรีและกรุงเก่า

งานเขียน - ความเป็นมาของศาสนาอิสลามในประเทศไทย { 2 }


คำว่า “กุฎี” ลางทีเขียนเป็น กระดี, กะดี และกะฎี สันนิษฐานว่า น่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาเปอร์เซียที่หยิบยืมมาใช้แต่อดีต ส่วนความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ระบุว่า หมายถึง “โรงประชุมทำลัทธิพิธีฝ่ายศาสนาอิสลาม” (ที่นี่ต้นสน ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๖ หน้า ๑๐) บ้างก็ว่าคำ “กะฎี” เป็นคำสามัญที่มุสลิมชีอะฮฺใช้เรียกชื่อศาสนสถานของพวกเขา อาจจะมาจากคำว่า “กะดีรกุม” (Gadir Khumm) แต่โดยทั่วไป ศาสนสถานของมุสลิมนิกายชีอะฮฺ มีศัพท์เรียกเป็นทางการว่า “อิหม่ามบาราฮฺ” (Imambara) แปลว่า “เคหาสน์ของอิหม่าม” (ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์, ขุนนางมุสลิมสมัยอยุธยา (๒๕๔๖) หน้า ๔๔)

บางท่านระบุว่า พวกเจ้าเซ็นกล่าวว่า พิธีกรรมมะหะหร่ำ อันมีการควั่นหัวนั้นจะกระทำที่มัสยิดหรือสุเหร่าไม่ได้ จึงทำกันที่กุฎีหรือกะดี จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวระหว่างกะดีกับมัสญิด และที่เรียกว่า กุฎีหรือกะดีนั้น ทางพวกเจ้าเซ็นเรียกว่า อิหม่ามบาราฮฺ แปลว่าหัวหน้าใหญ่ (ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์, ความสัมพันธ์ของมุสลิมฯ หน้า ๘๘) กระนั้นก็ดี ในหมู่พวกสุหนี่เอง ก็มีมัสยิดรูปร่างคล้ายโบสถ์ไทยแบบสถาปัตย์วัดโพธิ์ (อ้างแล้ว หน้า ๘๘-๘๙)


พระยาอนุมานราชธน เขียนว่า

“แต่คำว่ากุฎีเจ้าเซ็น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์เคยบอกแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นคำเปอร์เซีย แปลว่า “พระแท่นหรือที่ประทับของเจ้าเซ็น” ข้าพระพุทธเจ้าค้นในภาษามลายู พบคำว่า “กะเต” ว่ามาจากเปอร์เซีย แปลความเดียวกัน คิดด้วยกลัวว่าจะเป็นคำเดียวกัน” (บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๒ หน้า ๑๐๓) สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงษ์ทรงตอบว่า “คำกะเต ถูกลากเอาไปเข้าคำกุฎี ก็ควรแล้วเพราะ คำกะเตเลือนมาเข้าใจกันเป็นตัวเรือนไปเสียแล้ว ลักษณะก็ใกล้กับกฎี ชื่อก็ใกล้กับกฎี เราคุ้นเคยกับคำกฎี คำกะเตจึงถูกลากมาเป็นกฎี ขอให้สังเกตว่า ไม่ใช่มีแต่กฎีเจ้าเซ็น ซ้ำมีกฎีจีนต่อไปอีก ออกจะแปลยาก ดูไม่มีจีนอยู่ที่นั้นเลย” (บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๒ หน้า ๑๐๕)

ในเขตธนบุรีมีมัสยิดหลายแห่งใช้คำว่า “กุฎี” นำหน้า ได้แก่

กุฎีใหญ่ (หรือกุฎีบางกอกใหญ่หรือมัสยิดต้นสน) หลังปัจจุบันกุฎีใหญ่ (หรือกุฎีบางกอกใหญ่หรือมัสยิดต้นสน) หลังปัจจุบัน


(๑) กุฎีใหญ่ (หรือกุฎีบางกอกใหญ่หรือมัสยิดต้นสน) ตั้งอยู่ท้ายพระราชวังเดิม ริมคลองบางหลวงฝั่งเหนือ ซึ่งเป็นกุฎีที่เก่าแก่ที่สุด มีประวัติศาสตร์ยาวนานมานับแต่สมัยอยุธยา เมื่อไม่นานมานี้มีการขุดแต่งปรับพื้นที่ของสุสาน (กุบูร) มัสยิดต้นสน พบสุสานแห่งหนึ่งมีแท่นก่ออิฐถือปูนคล้ายฐานชุกชี มีรูปทรงปูนปั้นศิลปะอยุธยาตอนกลางหรือตอนปลาย สันนิษฐานว่า เป็นสุสานของขุนนางมุสลิมสำคัญในสมัยอยุธยา อาจจะเป็นพระยาสีหราชเดโชชัย (ทิพ) บ้างก็เขียนว่า ยะหิป เป็นบุตรพระยาราชวังสัน (ฮะซัน) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตาม ศิลปะของแท่นเหนือสุสานแห่งนี้ บ่งบอกชัดเจนว่า สุสานของมัสยิดต้นสนย้อนกลับไปถึงสมัยอยุธยาแน่นอน


(๒) กุฎีหลวงหรือกุฎีบน อาคารเดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองมอญตรงข้ามกับท่าราชวรดิฐ บนที่ดินที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๖ รัฐบาลได้เวนคืนที่ดินดังกล่าว กุฎีหลวงจึงย้ายมาอยู่ในที่ดินแปลงใหม่ที่ถนนพรานนก แขวงบ้างช่างหล่อ กุฎีหลวงเป็นศาสนสถานของพวกเจ้าเซ็น

กุฎีหลวงหรือกุฎีบน


(๓) กุฎีกลางหรือกุฎีล่าง ตั้งอยู่ริมคลองบางหลวงหรือคลองบางกอกใหญ่ เมื่อมีการสร้างสะพานเจริญพาศน์ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นทางการว่า กุฎีเจริญพาศน์


กุฎีกลางหรือกุฎีล่าง



กุฎีโต๊ะหยีหรือกุฎีขาว

(๔) กุฎีโต๊ะหยีหรือกุฎีขาว ตั้งอยู่ริมคลองบางหลวงฝั่งใต้ ตรงข้ามวัดหงส์รัตนาราม จากหลักฐานในหนังสือ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๓๔ หน้า ๖๒” มีแผนที่เป็นหลักฐานว่า มัสยิดบางหลวงถูกสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒ และมุสลิมสุหนี่ (แขกแพ) ได้ย้ายขึ้นมาอยู่บนบกในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ จึงอนุมานได้ว่า มัสยิดบางหลวงสร้างขึ้นในระยะนั้น ผู้ก่อตั้งมัสยิดบางหลวง คือ โต๊ะหยี ซึ่งเป็นคหบดีและเป็นพ่อค้าใหญ่ ทำการค้าขายติดต่อกับประเทศจีนและอินเดีย (เอกสารมัสยิดบางหลวง (กุฎีขาว) “ประวัติมัสยิดบางหลวง (กุฎีขาว)” หลวงพิพิธเภสัช (๒๕๑๒) หน้า ๒๘)


อาคาร มัสยิดเป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง มีหน้าบันประดับด้วยปูนปั้นลายศิลปะ ๓ ชาติ คือ กรอบหน้าบัน เป็นเครื่องลำยอง ประดับห้ามฉายไว้บนยอด เป็นศิลปะไทย ในหน้าบันเป็นปูนปั้นลายก้านแย่งใบฝรั่งเทศ เป็นศิลปะฝรั่ง ส่วนดอกไม้เป็นดอกเมาตาล เป็นศิลปะจีน


ลายศิลปะ ๓ ชาตินี้ได้นำมาประดับที่กรอบประตูและหน้าต่างทุกบานของมัสยิด ในส่วนตัวอาคารเป็นปูนทาสีขาวทั้งหมด ส่วนที่เป็นไม้ทาสีเขียวและเครื่องบนทั้งหมดที่เป็นไม้ เช่น ตง คาน รอด และแผ่นเพดานจะวางไว้ในที่บังคับ โดยไม่ตอกตะปู สามารถถอดได้เป็นชิ้น ๆ ทั้งอาคาร มีห้องกลางห้องเดียว เป็นห้องละหมาด หน้าห้องละหมาดเป็นหน้ามุข มีพาไลหรือเฉลียงโดยรอบ ตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดขึ้นทางหน้ามัสยิด ๒ ข้าง มีหน้ามุขเข้าห้องละหมาด พื้นห้องละหมาดปูด้วยอิฐหน้าวัวสีแดง


ส่วนพื้นภายนอกปูด้วยกระเบื้องปูนขาว ขนาดของอาคารมัสยิด กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สูง ๑๖ เมตร นับได้ว่าเป็น “มัสยิดก่ออิฐถือปูนแห่งเดียวในโลกที่เป็นทรงไทย” ต่อ มาท่านโต๊ะพิมพ์เสน ได้ขอซื้อพระตำหนักวังเก่ามาทำเป็นศาลามัสยิดขึ้น ๑ หลัง เป็นไม้ทั้งหลังและเป็นทรงไทยเช่นกัน ใช้เป็นศาลาเลี้ยงและเก็บวัสดุต่าง ๆ ของมัสยิด ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของมัสยิด พร้อมกับได้สร้างหอกลอง เป็นไม้ทั้งหลังอยู่ทางทิศใต้ของมัสยิด


ครั้นต่อมา มิมบัรในมัสยิดชำรุดลง เจ้าสัวพุก พ่อค้าจีนมุสลิม ได้ทำการก่อสร้างมิมบัรและมิหฺรอบขึ้นใหม่ เป็นซุ้มทรงวิมาน ก่ออิฐถือปูนผสมผสานด้วยลวดลายปูนปั้นของศิลปะระหว่างไทย จีน ฝรั่ง ประกอบด้วยฐานเสาเป็นปูนปั้นลวดลายไทยเกี่ยวกระหวัดด้วยกิ่ง ใบฝรั่งเทศ และดอกเมาตาลของจีนตลอดเสา โดยเฉพาะที่เป็นลายไทย เริ่มตั้งแต่ฐานล่าง ฐานเท้าสิงห์ กาบพรหมศวร ดอกประจำยาม บัวหัวเสา รัดเกล้า บันแถลง ตลอดตัวเสาประดับด้วยกระจกสีเขียว ขาว แดง น้ำเงิน เหลือง ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายรักร้อยและลายแก้วชิงดวง


ส่วนบ้านบนเป็นทรงวิมานยอดผสมผสานด้วยลวดลายก้านใบฝรั่งเทศ และดอกเมาตาลของจีนเต็มทั้ง ๓ ยอด ทั้งซุ้มประดับด้วยกระจกหลากสี และภายในซุ้มมีการแกะสลักแผ่นไม้เป็นตัวนูนลอย บรรจุบทอัลกุรอาน และอัลหะดีษที่สำคัญไว้ด้วย (วารสารมุสลิม กทม. ฉบับที่ ๔ ปีที่ ๒ (๒๕๔๖) ภาพจากปก)


(๕) กุฎีแดง เดิมตั้งอยู่ในย่านเดียวกับกุฎีขาวในคลองบางหลวง ปัจจุบันไม่ปรากฏอาคารมัสยิดกุฎีแดง น่าจะยุบเลิกมาประกอบศาสนกิจร่วมกับชุมชนกุฎีขาว


(๖) กุฎีนอกหรือกุฎีปลายนา ตั้งอยู่ริมคลองวัดพลับ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นที่ดินบริเวณปลายนาหลวงในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


(๗) กุฎีบ้านสวน ตั้งอยู่ย่านคลองบางหลวงตอนใน ใกล้วัดใหม่ท้องคุ้ง (วัดเวฬุราชิน) ซึ่งเป็นพื้นที่ทำสวนพลูในอดีต


(๘) กุฎีเขียวหรือกุฎีโต๊ะเขียว แยกตัวจากกุฎีบ้านสวนมาอยู่ริมคลองบางหลวงและถูกเวนคืนที่ดิน เมื่อครั้งตัดถนนอินทรพิทักษ์ สร้างสะพานเนาวจำเนียรผ่ากลางกุฎีและสุสาน


ในภายหลังมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. ๒๔๘๘ และ “พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐” มัสยิดที่มีคำว่า กุฎี เหล่านี้ได้จดทะเลียนและเปลี่ยนชื่อมัสยิดเป็นดังนี้ กุฎีใหญ่เป็นมัสยิดต้นสน, กุฎีปลายนาเป็นมัสยิดดิลฟัลลาฮฺ และกุฎีบ้านสวนเป็นมัสยิดสวนพลู ส่วนกุฎีเจริญพาศน์ยังคงใช้ชื่อเดิมเพียงแห่งเดียวเท่านั้น (วารสารที่นี่ต้นสน ฉบับที่ ๑ (๒๕๔๖) หน้า ๑๑-๑๒)


นอกจากในธนบุรีแล้ว ที่อยุธยาก็มีมัสยิดที่ใช้คำว่า กุฎี นำหน้าอยู่หลายแห่งเช่นกัน ได้แก่

(๑) กะดีท้ายคูหรือกุดี (กุฎี) ทองหรือกะดีแขกใหญ่ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นกะดี (กุฎี) หรือศาสนสถานสำคัญของพวกเจ้าเซ็นในสมัยอยุธยา ที่สร้างบนที่ดินซึ่งเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะฮฺหมัดอัลกุมมีย์) ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ตั้งอยู่ที่ท่ากายี บางครั้งบริเวณที่ตั้งกุฎีทองก็เรียกว่า โคกแขกหรือโคกกุฎีทอง เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ว่าเป็นสุเหร่าของเฉกอะฮฺหมัด (วัฒนธรรมไทย ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๓ หน้า ๒๙) พระยาโบราณราชธานินทร์ เรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า “ทุ่งแขก” หรือ “โคกแขก” ในปัจจุบันพื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันราชภัฎพระนครศรีอยุธยา ยังคงมีหลักฐานเนินดิน และสะพานอิฐก่อช่องโค้งแหลมแบบสถาปัตยกรรมอินโด-อิหร่าน (ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์, ขุนนางมุสลิมสมัยอยุธยา (๒๕๔๖) หน้า ๔๓)


ภาพมัสยิดตะเกี่ยโยคินราชมิสจินจาสยามภาพมัสยิดตะเกี่ยโยคินราชมิสจินจาสยาม



(๒) กะดีใหญ่เติกกี้หรือกุฎีตะเกี่ย เรียกว่า “มัสยิดตะเกี่ยโยคินราชมิสกิจจินจาสยาม” ตั้งอยู่ปากคลองตะเคียนด้านใต้ เป็นกุฎีเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ในบริเวณติดกับกุฎีตะเกี่ยฯ นั้นมีมะกอม (สุสานมีอาคารทรงโดมสร้างครอบ) ของบุคคลผู้สำคัญท่านหนึ่ง ซึ่งเล่ากันมาหลายทางว่า เป็นที่ฝังศพของแขกผู้วิเศษคนหนึ่ง (ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์, ความสัมพันธ์ของมุสลิมฯ หน้า ๙๐)


เป็นที่นับถือสำหรับชาวมุสลิมจากอินเดียใต้ คำ “ตะเกี่ย” เป็นศัพท์เปอร์เซีย ซึ่งเอามาจากอรับ อ่านตะกียะฮฺหรือตามถนัดว่า ตะเกี่ย (สาส์นสมเด็จ เล่ม ๓ หน้า ๑๒๒) มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งผู้วิเศษท่านนี้ซึ่งภายหลังนิยมเรียกกันว่า เจ้าพระคุณตะเกี่ยฯ เดินทางมาจากอินเดียโดยเรือสำเภา แล่นเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อเรือแล่นใบมาถึงปากคลองบางกอกใหญ่ ได้ทราบว่ามีบ้านเรือนของชาวมุสลิมอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ท่านก็แวะขึ้นเยี่ยมเยียน แต่ท่านเจ้าพระคุณฯ เห็นว่า ย่านนี้ไม่เหมาะสมสำหรับท่าน จึงได้แล่นเรือขึ้นเหนือต่อไปตามลำน้ำเจ้าพระยา จนถึงกรุงศรีอยุธยา


ครั้นต่อมาท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชทานที่ดินแปลงใหญ่ให้ที่ชานเมืองพระนครศรีอยุธยา (น่าจะเป็นบริเวณปากคลองตะเคียน) การได้รับราชทินนามว่า “ตะเกี่ยโยคินราชมิสกิจจินจาสยาม” คงจะมีเค้าลางยืนยันถึงความดีความชอบของท่านเจ้าพระคุณฯ ได้เป็นอย่างดี กุฎีตะเกี่ยฯ จึงเป็นสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง สำหรับประชาคมมุสลิมในอยุธยา เพราะมีการระบุว่า ย้อนไปถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๒๕) นั่นทีเดียว (ดูในวารสารที่นี่ต้นสน อ้างแล้ว หน้า ๙)


กุฎีช่อฟ้ากุฎีช่อฟ้า


(๓) กุฎีช่อฟ้า ตั้งอยู่ที่คลองตะเคียน พระนครศรีอยุธยา มัสยิดหลังแรกสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๒๐๐ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) ชุมชนของประชาคมมลายูมุสลิมได้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบปากคลองตะเคียนเป็นอัน มาก ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงเสด็จประพาสทางชลมารคผ่านตำบลคลองตะเคียนมัสยิดหลังใหม่ ขณะนั้นได้สร้างเสร็จราวปี พ.ศ. ๒๔๖๒ เป็นอาคารก่ออิฐหรือปูน มีรูปช่อฟ้าใบระกาประดับ พระองค์จึงพระราชทานนามว่า มัสยิดกุฎีช่อฟ้า พร้อมทั้งได้พระราชทาน “ตะเกียงช่อ” ให้แก่มัสยิดด้วย


เขียนโดย อ.อาลี เสือสมิง

ศาสนาอิสลามในสมัยกรุงธนบุรี

งานเขียน - ความเป็นมาของศาสนาอิสลามในประเทศไทย { 1 }

มัสยิดกุฎีต้นสนหลังเก่ามัสยิดกุฎีต้นสนหลังเก่า

เมื่อ กรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว ชาวไทยหลายพวกรวมทั้งมุสลิมด้วย จำนวนมากก็อพยพลงมาทางใต้ของกรุงศรีอยุธยาตามลำน้ำเจ้าพระยา พวกมุสลิมได้มาตั้งหลักแหล่งที่คลองบางกอกใหญ่ ในหนังสือ “ประวัติมัสยิดต้นสน” ที่เล่าถึงประวัติของมัสยิดต้นสน ซึ่งเป็นมัสยิดศูนย์กลางของชุมชนมุสลิมสำคัญแห่งหนึ่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย กล่าวว่า บริเวณคลองบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรีมีพวกมุสลิมตั้งภูมิลำเนาค้าขายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มุสลิมกลุ่มนี้กล่าวว่า พวกเขาเข้ามาตั้งชุมชนในคลองบางกอกใหญ่ตั้งแต่ก่อนรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรง ธรรม (พ.ศ. ๒๑๕๓-๒๑๗๗/ค.ศ. ๑๖๑๐-๑๖๒๘) (ดูรายละเอียดในเสาวนีย์ จิตต์หมวด, กลุ่มชาติพันธุ์ : ชาวไทยมุสลิม (กรุงเทพฯ : กองทุนสง่ารุจิระอัมพร, ๒๕๓๑) หน้า ๑๒๕) โดยกล่าวถึงกระดานไม้จารึกภาษาอาหรับ ซึ่งถูกไฟไหม้บางส่วนครั้งเสียกรุง ได้ลอยน้ำมาและมุสลิมคลองบางกอกใหญ่เก็บรักษาไว้ที่มัสยิดต้นสนจนบัดนี้ (เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๑๙ ; ที่ระลึกงานเปิดมัสยิดต้นสน ๒๕ ก.พ. ๒๔๙๘ ; ใน “ประวัติมัสยิดต้นสน” (พระนคร. การพิมพ์ไชยวัฒน์ ๒๕๑๘) หน้า ๑๓)


มุสลิม แถบมัสยิดต้นสนคงตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยาแล้ว เพราะจากบันทึกประวัติขุนนางมุสลิมกรมท่าขวาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นระบุ ว่า ครั้งที่พวกเขาอพยพหนีสงครามมาจากกรุงศรีอยุธยา ก็ได้อาศัยอยู่แถบกุฎีใหญ่หรือมัสยิดต้นสน ร่วมกับมุสลิมกลุ่มเดิมริมคลองบางกอกใหญ่ มีปรากฏในสมุดข่อยโบราณ บันทึกข้อความไว้ว่า

“เจียมลูกพ่อเดช มันถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารของพระเจ้าทรงธรรมที่กรุงศรีอยุธยา อุตส่าห์ส่งผ้าโสร่งตาหมากรุกมาให้พ่อของมันถึงบางกอกใหญ่จนได้” (วารสาร ที่นี่ต้นสน, ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้นสน หน้า ๖)


คำว่า “กระฎีใหญ่” เป็นชื่อย่อมาจาก กะฎีบางกอกใหญ่ ชาวมุสลิมที่นี่อพยพมาจากหัวรอหรือแถบคลองตะเคียน พระนครศรีอยุธยาคำว่า “มัสยิดต้นสน” นั้นเพิ่งมาเรียกกันในชั้นหลัง เมื่อรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยหลวงโกชาอิสหาก มหาดเล็กในรัชกาลที่ ๓ ได้ทำการตอนต้นสนซึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง นำมาปลูกไว้ที่หน้าบริเวณประตูของมัสยิดทั้งสองด้าน ต่อมาต้นสนคู่นี้ได้เติบโตสูงชะลูด เป็นที่สะดุดตาของผู้พบเห็นได้ง่าย จึงเรียกมัสยิดต้นสนตั้งแต่บัดนั้นมา (อ้างแล้วหน้า ๙)


บ้างก็ว่า มัสยิดบางกอกใหญ่นี้มีประวัติว่า “โต๊ะสน” ซึ่งเป็นคหบดีเป็นผู้ก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ต่อมาคงเรียกเพี้ยนจากมัสยิดโต๊ะสนเป็นมัสยิดต้นสน (รัชนี กีรติไพบูลย์ (สาดเปรม) ใน “บทบาทของชาวมุสลิมในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๔๕๓” หนังสืออนุสรณ์งานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ. ๑๔๒๔ หน้า ๖๖)


การก่อสร้างมัสยิดของโต๊ะสน คงหมายถึงอาคารมัสยิดก่ออิฐถือปูน มีความกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตรเศษ รูปทรงของอาคารสร้างคล้ายศาลาการเปรียญ โดยลอกเลียนแบบอาคารก่ออิฐถือปูนในพระบรมมหาราชวังหลังหนึ่งมาเป็นแบบ มีหน้าจั่วประดับลวดลายปูนปั้นตามศิลปะไทย (วารสาร ที่นี่ต้นสน ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๖ หน้า ๘)


ชุมชนชาวมุสลิมในคลองบางกอกใหญ่หรือคลองบางหลวง ถือเป็นชุมชนของข้าหลวงเดิมที่สืบมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่ตั้งมัสยิดต้นสนนั้นก็อยู่ใกล้กับพระราชวังเดิม นับเป็นจุดศูนย์รวมของเหล่าแม่ทัพนายกองมุสลิมชั้นผู้ใหญ่ เช่น เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ (หมุด) พระยายมราชและพระราชบังสัน เป็นต้น นอกจากนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยังได้ทรงพระราชทานที่ดินด้านหลังบริเวณมัสยิดให้ กว้างขวางเพื่อขยายส่วนที่เป็นสุสาน (กุบูร) อีกด้วย


มัสยิด ต้นสนมีอาณาบริเวณติดต่อกับวัดหงส์รัตนารามและวัดโมฬีโลกยาราม พระอารามหลวงขนาบอยู่ทั้งสองด้าน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยมุสลิมกับชาวไทยพุทธที่อยู่ร่วมกัน อย่างปกติสุข


ชาวมุสลิมที่คลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) และคลองบางกอกน้อยนั้น เรียกแต่เดิมว่า “แขกแพ” ดังในโคลงนิราศนรินทร์ เมื่อล่องมาถึงคลองบางกอกใหญ่ว่า

“ชาวแพแผ่แง้ค้า ขายของ

แพรพัศตราตาดทอง เทศย้อม”

(นิราศนรินทร์ โคลงที่ ๑๙)

(นรินทร์ธิเบศร์ (อิน) “นิราศนครินทร์คำโคลง และนิราศปลีกย่อย” (พระนคร : แพร่พิทยา ๒๕๑๓) หน้า ๒๔)


เนื่อง จากสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและนายนรินทร์ธิเบศร์ ต่างก็เขียนวรรณกรรมทั้งสองเล่มขึ้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงเชื่อได้ว่า มุสลิมกลุ่มที่กล่าวถึง คือ แขกแพนั้นเป็นพวกที่เก่าแก่ และอพยพมาทั้งหมด ที่เหลืออยู่คงแตกฉานซ่านเซ็นเพื่อหนีการเป็นเชลยไปที่อื่นๆ ครั้นเหตุการณ์สงบจึงอพยพเข้ามาทำมาหากินอยู่ในบริเวณเดิม ที่ตนเคยอาศัยอยู่ ปัจจุบันยังคงมีมุสลิมเป็นจำนวนมากตั้งชุมชนอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในแหล่งเดิมนับแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา อาทิเช่น บริเวณคลองตะเคียน คลองปทาคูจาม (คลองปะจาม) บ้านพลับ ลุมพลี หัวรอ หัวแหลม เป็นต้น


สำหรับคลองบางกอกน้อยนั้น เป็นที่พักของประชาคมมุสลิมเก่าแก่ที่อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน บรรพบุรุษท่านหนึ่งของประชาคมมุสลิมคลองบางกอกน้อย คือ พระภักดีเสนา-บุตรหลวงทิพเทวา ซึ่งเป็นบุตรของพระยาพัทลุง (ฮุเซ็น) พระภักดีเสนา มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในแถบหัวแหลมกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งสงครามเสียกรุง พ.ศ. ๒๓๑๐ บรรดามุสลิมในกรุงศรีอยุธยาได้ถอยแพล่องเรือมาตามลำน้ำเจ้าพระยา มาตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่บริเวณตลาดแก้ว บางอ้อ บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ จนถึงบริเวณบางลำภูล่าง


ในส่วนของบรรพบุรุษชาวมุสลิมที่ บางกอกน้อยนั้น ได้มาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บริเวณต้นมะกอกน้อย (ปากคลองบางกอกน้อย) ตรงพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีรถไฟธนบุรีปัจจุบัน (สายสกุลสัมพันธ์ ๒๕๔๓ หน้า ๖) เหนือเมืองธนบุรีขึ้นไปแม่น้ำเจ้าพระยาเก่าไม่ผ่านตัวจังหวัดนนทบุรี ปัจจุบัน เมื่อผ่านปากเกร็ดลงมาถึงบริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติ ที่สมัยก่อนเรียก “ตลาดขวัญ” ก็ไหลไปทางตะวันตก ทุกวันนี้เรียกว่า “คลองแม่น้ำอ้อม” แล้ววกกลับมาทางตะวันออก ทุกวันนี้เรียก “คลองบางกรวย” มาโผล่ที่ฝั่งตรงข้ามวัดเขมาภิรตาราม สมัยก่อนเรียก “ตลาดแก้ว” (สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?, ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕๔๘ หน้า ๙๙-๑๐๐) ทั้งตลาดขวัญ ตลาดแก้ว และบางอ้อ ล้วนแล้วแต่เป็นชุมชนเก่าของประชาคมมุสลิมดั้งเดิมที่สืบมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี


ที่ “ปากลัด” เมืองพระประแดง มีหลักฐานระบุเช่นกันว่า เป็นแหล่งที่ชาวมุสลิมดั้งเดิมที่อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งกรุงแตกได้เข้ามาตั้งหลักแหล่ง เพราะเป็นเมืองที่เคยอยู่ในเส้นทางการอพยพตามลำน้ำเจ้าพระยา เมืองพระประแดง เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ ตั้งมาแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง กรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๖๓-๒๑๗๑ พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า เมืองพระประแดงอยู่ห่างปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามามาก... จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการให้เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้แทนต่อไป


ในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุง ธนบุรีแล้ว พระองค์ได้ทรงมีพระบัญชาให้รื้อถอนกำแพงเมืองพระประแดงเดิมไปก่อกำแพง พระราชวังธนบุรี และอื่น ๆ ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนครเขื่อนขันธ์ (คัดลอกและย่อมาจากหนังสือของจังหวัดสมุทรปราการจากหอสมุดแห่งชาติ) ในภายหลังเมื่อลุต้นกรุงรัตนโกสินทร์ฯ แล้ว ชาวมุสลิมจากปัตตานีได้ถูกจับเป็นเชลยและถูกนำมาไว้ที่ปากลัดนี้อีกคำรบหนึ่ง (หนังสืออนุสรณ์ฉลองเปิดป้ายอาคารมัสยิดดารอสอาดะฮฺ ๒๕๔๖ หน้า ๓๖)......

เขียนโดย อ.อาลี เสือสมิง

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คาบสมุทรอาหรับ (Arab Peninsula)

ชายฝั่งคาบสมุทรอาหรับประเทศโอมาน


คาบสมุทรอาหรับ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นคาบสมุทร (Peninsula) ที่มีน้ำล้อมรอบอยู่ 3 ด้านคือ ทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย, และอ่าวอาหรับ (อ่าวเปอร์เซีย) นักประวัติศาสตร์ชาวอาหรับเรียกคาบสมุทรนี้ว่า "เกาะอาหรับ" นับแต่สมัยโบราณ คาบสมุทรอาหรับถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ

1. ติฮามะห์ (تِهَامَة) เป็นดินแดนแถบชายฝั่งที่มีพื้นที่แคบและลาดชันขนานไปกับทะเลแดง นับจากยะมัน (เยเมน) ทางทิศใต้จนถึง อ่าวอัลอะก่อบะห์ (อา กอบ้า) ทางทิศเหนือ กล่าวกันว่า ที่เรียกดินแดนส่วนนี้ว่า ติฮามะห์ เป็นเพราะสภาพอากาศในแถบนี้ร้อนหูดับตับไหม้ สายลมก็สงบนิ่งเป็นเป่าสาก อาณาบริเวณของเขตติฮามะห์ถูกแบ่งพรมแดนระหว่างยะมัน (เยเมน) และแคว้นอัลฮิญาซ

2. แคว้นนัจญด์ (نَجْد) เป็นที่ราบสูงตอนกลางคาบสมุทรอาหรับ ถือเป็นอาณาบริเวณที่กว้างที่สุด มีโอเอซิสอยู่ตามรายทาง ซ้ำยังมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเพาะปลูก เหตุที่เรียกว่า นัจญฺด์ (ก็เพราะพื้นที่แถบนี้เป็นที่เป็นที่สูงจากระดับน้ำทะเล มีพื้นที่ราว 1,390,000 ตารางกิโลเมตร

3. แคว้นอัลฮิญาซ (اَلحِجَاز) อยู่ทางตอนเหนือของยะมัน (เยเมน) และทางตะวันออกของเขตติฮามะห์ พื้นที่ในแคว้นอัลฮิญาซเต็มไปด้วยภูเขาสลับซับซ้อนนับจากยะมัน (เยเมน) จรดแคว้นชาม (ซีเรีย) สลับไปด้วยโอเอซิสและเหวลึก มีเมืองสำคัญ เช่น นครมักกะห์, ยัซริบ (ม่าดีนะห์) และเมืองอัตตออิฟตั้งอยู่ เหตุที่เรียกว่า อัลฮิญาซฺ เพราะพื้นที่ในแคว้นอัลฮิญาซฺมาขวางกั้นระหว่างแคว้นนัจญฺด์และติฮามะห์

4. แคว้นอัลอะรูฎ (اَلعَرُوض) มีพื้นที่ครอบคลุมเขตอัลยะมามะห์และอัลบะฮฺรอยน์ (บะฮฺเรน) ที่เรียกว่า อัลอะรูฎ เพราะพื้นที่ในเขตนี้คั่นอยู่ระหว่างยะมันแคว้นนัจญฺด์และแผ่นดินอิรอก (อิรัก)

5. อัลยะมัน (اَلْيَمَنُ) เป็นอาณาบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวางแผ่ยื่นจากแคว้นติฮามะห์จรดแคว้นอัลอะ รูฎ กล่าวคือกินพื้นที่นับจากแคว้นนัจญฺด์จนถึงมหาสมุทรอินเดียทางทิศใต้ และทะเลแดงทางทิศตะวันตก และจรดแคว้นฮัฎร่อเมาวต์ และโอมานทางทิศตะวันออก เหตุที่เรียกว่า อัลยะมัน หรือ อัลยะม่านาต ก็เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ บ้างก็เรียกว่า อัลคอฎรออฺ ซึ่งแปลว่า ดินแดนสีเขียว ก็เพราะเขตอัลยะมันมีพื้นที่เกษตรกรรม สวนอินทผลัมและผลไม้ ชาวกรีกรู้จักดินแดนนี้ในชื่อดินแดนแห่งความผาสุก เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งในด้านเกษตรกรรม ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และมีการค้าที่เจริญรุ่งเรือง




แผนที่คาบสมุทรอาหรับแผนที่คาบสมุทรอาหรับ






นครสำคัญในแคว้นอัลฮิญาซฺ
1. นครมักกะห์ (مَكَّةُالْمُكَرَّمَةُ) ณ นครแห่งนี้เป็นที่ตั้งของอาคารอัลกะอฺบะห์ (บัยติลลาฮิลฮะรอม) และสถานที่อันทรงเกียรติ ไม่ว่าจะเป็นภูเขาอัซซ่อฟา , ภูเขาอัลมัรวะห์ , ทุ่งอารอฟะห์ ,ทุ่งมินา , ทุ่งอัลมุซฺดะลิฟะห์ , บ่อน้ำซัมซัม เผ่าอาหรับที่เป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของนครมักกะห์ คือ เผ่ากุรอยซ์

2. นครม่าดีนะห์ (اَلْمَدِيْنَةُاْلمُنَوَّرَةُ) ณ นครแห่งนี้มีหลุมฝังศพของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) สุสานอัลบะกีอฺ (اَلْبَقِيْعُ) ซึ่งบรรดาสาวกและวงศ์ญาติของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) เป็นจำนวนมากถูกฝังร่างอยู่ ณ สุสานแห่งนี้ ทางตอนเหนือของนครม่าดีนะห์มีภูเขาอุฮุด (اُحُدُ) ตั้งอยู่ ซึ่งเคยเป็นสมรภูมิรบที่สำคัญในนครม่าดีนะห์มีเผ่าอัลเอาซฺและอัลคอซฺรอจญ์ ตั้งถิ่นฐานอยู่ ซึ่งแต่เดิมทั้งสองเผ่านี้มีรกรากจากชาวอาหรับในเผ่าอัลยะมัน ในนครม่าดีนะห์มีบ่อน้ำธรรมชาติและสวนอินทผลัมเป็นอันมาก

3. นครอัตตออิฟ (اَلطَّا ئِفُ) เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในแคว้นอัลฮิญาซฺ มีการเพาะปลูกองุ่น , มะเดื่อ , มะกอก และทับทิม

4. เมืองญิดดะห์ (جِدَّة) เป็นเมืองท่าที่สำคัญบนชายฝั่งทะเลแดง

อ.อาลี เสือสมิง

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตำนานมอระกู่ (บาระกู่ - yura')



บรรดาสิงห์อมควันและคอยาสูบคงจะรู้จักเครื่องสูบชนิดหนึ่งที่เรียกว่า บาระกู่ ซึ่งนิยมเรียกกันติดปาก แต่ตามพจนานุกรมฯ เรียกว่า มอระกู่ (บ้างก็เขียนว่า หม้อระกู่) หมายถึง หม้อยาสูบของชาวอาหรับ เป็นคำในภาษาชะวา (ชวา, ยะหวา) ออกเสียงว่า ("เมอโรโก๊ะ" (merokok) ซึ่งหมายถึง สูบบุหรี่นั้นเอง จากเมอโรโก๊ะก็พี้ยนมาเป็น มอระกู่ หรือ หม้อระกู่ และเป็นบาระกู่ในที่สุด ในภาษาเปอร์เซียเรียกว่า ชีชะฮฺ หรือ ชีช่าฮฺ (شِيْشَة Hubble-bubble) บาง ทีก็เรียกว่า อัรฆีละห์ , อัรฺญีละห์ หรือ นัรญีละห์ (nardhile) มีภาพจากหนังสือจดหมายเหตุลาลูแบร์ ปรากฏเครื่องสูบมอระกู่ที่แขกมัวร์นำเข้ามาใช้ที่อยุธยาราวรัชสมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3) -พ.ศ.2199-2231/คศ.1656-1688-

คำว่าแขกมัวร์ในสมัยอยุธยามักใช้ปะปนกันระหว่างชาวอาหรับและชาวเปอร์เซีย หรืออินเดีย หรือแม้กระทั่งตุรกี (เติร์ก) ซึ่งบรรดาแขกเหล่านี้นิยมสูบมอระกู่ด้วยกันทั้งสิ้น มิใช่ชาติอาหรับภาษาเพียงกลุ่มเดียว ดังจะเห็นได้จากภาษาที่เข้ามาเกี่ยวข้อง มีทั้งชวา เปอร์เซีย และอาหรับ ซึ่งเป็นไปได้ว่า ชาวชวาที่เป็นเจ้าของชื่อมอระกู่ นั้นรู้จักกับเครื่องยาสูบชนิดนี้มาจากชาวเปอร์เซียและอาหรับก่อนที่จะเข้า มาสู่อยุธยาในเวลาต่อมา

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีคณะทูตชาวอิหร่านซึ่งกษัตริย์สุลัยมานแห่งวงศ์วานเศาะฟะวียะห์ (ค.ศ.1666-1694) แต่งมาเจริญสัมพันธไมตรีตอบสมเด็จพระนารายณ์ฯ ที่ได้ทรงราชทูตสยามไปยังกรุงเปอร์เซียก่อน ในบันทึกของอาลักษณ์ประจำคณะราชทูตอิหร่าน ชื่อ อิบนุ มุฮัมมัด อิบรอฮีม ได้ระบุว่า

"...วัน นั้นมีการเลี้ยงต้อนรับพวกเรา เมื่อเราเข้าไปในพระราชวัง ก็เห็นมีหมอนอิงเล็กใหญ่วางเรียงรายไว้ต้อนรับพวกเรา ท่านอิบรอฮีม เบก ได้สูบ ً"มอระกู่" เงิน เขาอบห้องให้หอมด้วย..." แสดงว่าชาว อิหร่าน (เปอร์เซีย) ก็นิยมสูบมอระกู่ไม่แพ้ชาวอาหรับเลยทีเดียว เพราะเครื่องสูบมอระกู่ในยุคนั้นก็คงต้องอิมพอร์ตมาจากดินแดนในตะวันออกกลาง นั่นเอง แถมโลหะที่ทำเครื่องสูบยังเป็น "เงิน" อีกเสียด้วย

ตัวยาสูบ หรือ ยามอระกู่ (บาระกู่) นั้นก็มีส่วนผสมจากใบยาสูบที่ฉีกเป็นเส้น คลุกเคล้าด้วยน้ำผึ้ง และอาจเติมแต่งกลิ่นหรือรสของผลไม้ที่นิยมกันก็เห็นจะเป็นแอปเปิ้ล และถ้าเป็นคอบาระกู่ที่คอถึงๆ ก็อาจจะชอบและติดใจเนื้อยาที่ผสมจากอินทผลัม ซึ่งค่อนข้างฉุนและแรงสักหน่อย

สรุปได้ว่า มอระกู่ หรือ บาระกู่ ที่เริ่มฮือฮากันในหมู่วัยรุ่นมุสลิมจนมีการหารายได้ด้วยการเปิดซุ้มบาระกู่ กันตามงานมัสยิด (สุเหร่า) กันอย่างเป็นล่ำเป็นสำนั้น ตามประวัติศาสตร์มีมาตั้งแต่ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาโน้นแล้ว ยาซิกกาแรต หรือบุหรี่แบบฝรั่ง (อเมริกัน) นั้นเพิ่งมามีตอนหลัง ที่เห็นจะเทียบอายุอานามความเก่าแก่กับยามอระกู่ได้ก็จะเห็นจะเป็นใบจากกับ ยาสูบ หรือไม่ก็ใบตองแห้งที่เรียกว่า ยามวน นั่นแหละ อย่างไรเสียการสูบบุหรี่หรือมอระกู่นั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพนะจ้ะ บันยะบันยังกันหน่อยก็ดี ที่เตือนน่ะ หวังดีและรู้ซึ้งรสชาดของบาระกู่ยิ่งนัก (ฮิๆ)

Shalahuddin Al Ayubi Sang Penakluk

alt
Sholahuddin Abul Muzhoffar Yusuf bin Amir Najmuddin Ayyub bin Syadzi bin Marwan bin Yakub ad Duwumi atau yang dikenal dengan Shalahuddin Al Ayyubi adalah tokoh dan insan pejuang yang menerangi kegelapan. Ketenaran namanya selalu menjadi buah bibir, baik dari kalangan kawan, sahabat atau pun musuhnya. Malam hari dia gunakan untuk selalu mendekat dan beribadah kepada Rabb-Nya. Air mata selalu membasahi pipinya. Kelopak matanya semakin cekung karena kurnag tidur, ia tumpahkan segala apa yang dirasakannya bersujud tak henti-henti memohon kepada sang khalik apa yang diinginkannya. Siang harinya ia gunakan untuk berjihad di jalan Allah, bagaikan singa lapar yang siap menerkam mangsanya. Keseharian siang ia gunakan pula waktunya untuk menolong sesama, membantu mereka dengan kedermawanannya. Dari hartanya yang tidak pernah ia sisakan sesampai di rumahnya habis ia bagikan.

Kejayaan dan keheroikannya merampas kembali Baitul Maqdis dari tentara salib terpahat dalam sejarah sebagai lambang pendudukan musuh yang kejam, sikap patriotik dan kepahlawanannya bergabung menjadi satu, dengan sifat kemanusiaan. Rasa tanggung jawab terhadap agamanya, Islam, ia baktikan dan buktikan dalam menghadapi serangan tentara salib ke Palestina, sebagai tanah suci umat Islam ke 2 setelah Masjidil Haram.

Shalahuddin Al Ayyubi juga adalah pahlawan dari seratus pertempuran sejak tahun 1137-1193 M. Nama beliau telah terpatri di hati sanubari pejuang muslim yang memiliki jiwa ksatria. Yang berhasil memporak-porandakan tentara salib pilihan, gabungan dari berbagai negeri di Eropa Pimpinan Richard Lion Heart. Inspirasi, pemikiran dan perjuangannya menjadi keteladanan untuk membina dan mewujudkan jati diri dalam memperoleh kemenangan.

Shalahuddin Al Ayyubi tokoh pejuang yang berjuang tidak dengan nama etnis, tetapi ia berjuang atas dasar aqidah Islam. Berjuang atas nama etnis atau suku tidak akan membuahkan hasil. Sedangkan berjuang atas dasar aqidah Islam pasti kejayaan akan di raih.

Kelahiran dan kebangkitannya
Shalahuddin dilahirkan dalam sebuah keluarga Kurdish di Tikrit pada tahun 532 H/1337 M. Dia telah menghabiskan waktunya 10 tahun untuk menimba ilmu Islam di Damsyik. Ayahnya bernama Najmuddin Ayyub. Ia adalah gubernur wilayah Baalbeek. Selain belajar Islam Shalahuddin pun mendapatkan pelajaran kemiliteran dari pamannya Assadin Shirkuh seorang panglima perang Turki Saljuk.

Pada tahun 549 H/1154 M, panglima Assaddin Shirkuh memimpin tentaranya merebut dan menguasai Damsyik. Shalahuddin yang saat itu baru berusia 16 tahun ikut serta dalam berjuang. Pada usia 25 tahun ia berhasil menaklukkan Daulah Fathimiyyah yang dipimpin oleh Adhid Udinillah, yang akhirnya menjadi Khalifah terakhir Syi’ah, yang kemudian berganti menjadi kekuasaan orang-orang Sunni.

Kepribadian dan Akhlaknya
Shalahuddin Al Ayyubi adalah panglima besar yang memiliki jiwa patriotik. Keberaniannya terhadap musuh tiada tara. Tak ada rasa gentar dan takut sedikitpun. Kewara’annya terhadap hal-hal yang subhat sangat beliau jaga. Zuhudnya terhadap dunia sangat ia tekankan. Walaupun ia seorang gubernur pejabat pemerintahan, ia tidak silau oleh harta dunia, apalagi untuk mengejar dunia. Sifat pemurah dan pemaafnya telah diakui oleh kawan maupun lawan.
Seorang sejarawan mengatakan,”Hari kematiannya merupakan kehilangan besar bagi agama Islam dan kaum Muslimin. Karena mereka tidak pernah menderita. Semenjak kehilangan khalifah yang pertama, istana, kerajaan dunia diliputi oleh wajah-wajah yang tertunduk. Seluruh kota terbenam dalam duka cita yang dalam”.

Hidupnya selalu ia habiskan untuk bekerja keras, siang dan malam untuk Islam. Hidupnya sangat sederhana. Minumnya hanya air kosong (putih) tanpa teh atau kopi. Makanannya pun sederhana. Pakaiannya dari jenis yang kasar.Beliau senantiasa menjaga waktu-waktu sholatnya dan mengerjakan secara berjamaah. Beliau suka mendengarkan bacaan Al Qur’an, hadits dan ilmu pengetahuan. Tak ada rasa dendam dalam hati kepada seorang musuh, bahkan ia lebih cenderung untuk memperlakukan musuh dengan sabar.

Diceritakan bahwa pada suatu hari raja Richard dalam kondisi sakit, mendengar kabar itu secara sembunyi-sembunyi Shalahuddin mendatangi kemah raja Richard. Setelah sampai di kemah bukannya dia membunuh raja Richard, sebaliknya ia mengobati sakit sang raja dengan ilmu ketabibannya. Hingga akhirnya raja tersebut sembuh. Sang raja pun terkesan dengan akhlaq dan perilaku Shalahuddin dan ia pun menawarkan gencatan senjata dan menarik pasukannya mundur ke Eropa.

Membangkitkan semangat kaum muslimin
Shalahuddin sedih ketika kondisi umat Islam melemah, tanpa ada gairah. Di sana sini terjadi pertikaian. Sehingga kekhalifahan Islam pun terpecah menjadi dua bagian. Yaitu, Dinasti Fathimiyah yang ada di Kairo (bermazhab Syi’ah) dan Dinasti Saljuk yang berpusat di Turki (bermazhab Sunni). Kondisi inilah yang membuat Shalahuddin menjadi sangat prihatin. Menurutnya Islam harus bersatu untuk melawan Eropa, dan juga harus bahu membahu. Pada akhirnya melalui kerja keras dan lobi Shalahuddin berhasil mendamaikan dan mempersatukan kedua Dinasti yang terpecah itu, menjadi satu kesatuan yang damai. Tapi, di sisi lain adanya sebagian umat Islam yang banyak cenderung mementingkan keduniawian, sehingga menyebabkan mereka menjadi loyo dan tak bersemangat dalam berjihad. Maka untuk mengembalikan semangat pasukan kaum muslimin pulih kembali diadakanlah satu festival, yaitu perayaan Maulid Nabi, yang didalamnya diceritakan kembali dan dibacakan sejarah nabi, atsar para sahabat dan cerita-cerita lainnya yang berkaitan dengan jihad, tujuannya untuk membangkitkan semangat perjuangan.

Festival pun berlangsung selama dua bulan berturut-turut. Hasilnya sangat luar biasa, semangat berjihad kembali muncul, kesadaran berinfaq pun tumbuh. Ini ditandai dengan banyaknya para pemuda-pemuda yang mendaftar untuk membebaskan Palestina dan mereka pun siap untuk mengikuti latihan kemiliteran.

Dan Shalahuddin pun berhasil mengobarkan semangat berjihad dan mengumpulkan para pemuda dari negeri Islam. Pasukan ini pun akhirnya berhasil mengalahkan pasukan salib di Hittin pada 4 Juli 1187 M.

Sang Penakluk Baitul Maqdis
Setelah kejatuhan Baitul Maqdis oleh tentara salib yang dipimpin oleh anak-anak raja Godfrey dari Porraine Perancis, Bohemund dari Normandy dan Raymond dari Toulouse dengan kekuatan tentara berjumlah 150.000 tentara. Terjadinya pembantaian besar-besaran selama 8 hari terhadap kaum muslimin dan orang-orang yahudi yang tidak mau bergabung dengan tentara salib. Jumlah korban terbantai mencapai 60.000 orang, terdiri dari anak-anak, orang tua dan semua orang yang tidak membantu tentara salib.

Ahli sejarah Kristen mengatakan,”Ketika rasa kasihan tidak boleh diperlihatkan kepada kaum muslimin, orang-orang yang kalah diseret-seret di tempat umum dan dibunuh. Semua kaum wanita yang menyusui, anak-anak gadis dan anak-anak laki dibantai dengan kejam. Tanah, padang bahkan seluruh jalan dipenuhi oleh mayat-mayat. Tak ada sejengkal tanah pun yang tak diisi dengan mayat-mayat.

Jatuhnya kota suci Baitul Maqdis ke tangan pasukan salib telah mengejutkan para pemimpin Islam. Mereka tidak menyangka kota suci yang telah dikuasainya selama hampir 500 tahun itu terlepas dari kaum muslimin. Akhirnya mereka tersadar untuk menghimpun kekuatan kembali, merebut tanah suci mereka. Maka setelah 90 tahun Baitul Maqdis dikuasai oleh pasukan salib. Tentara Shalahuddin bergerak memasuki daerah Hittin dan terjadilah pertempuran yang sengit antara pasukan Shalahuddin dengan pasukan Salib yang dipimpin Reynold Raja Guy yang akhirnya pasukan salib dapat dikalahkan dan Reynold dihukum mati karena terlibat dalam pembantaian. Sedangkan raja Guy dibebaskan.

Selama 90 hari perang Hittin akhirnya Baitul Maqdis dapat ditaklukan dan direbut kembali selama hampir 90 tahun berada dalam cengkeraman musuh. Tidak ada dendam untuk membalas pembantaian tahun 1099.

Sebagaimana dianjurkan Qur’an surat An Nahl ayat 127,”Bersabarlah (hai Muhammad) dan Tiadalah kesabaranmu itu melainkan dengan pertolongan Allah dan janganlah kamu bersedih hati terhadap (kekafiran) mereka dan janganlah kamu bersempit dada terhadap apa yang mereka tipu dayakan”.

Permusuhan dihentikan sesuai firman Allah QS. Al Baqoroh ayat 193 yang artinya,”Dan perangilah mereka itu, sehingga tidak ada fitnah lagi dan (sehingga) ketaatan itu hanya semata-mata untuk Allah. jika mereka berhenti (dari memusuhi kamu), Maka tidak ada permusuhan (lagi), kecuali terhadap orang-orang yang zalim”.

Tak ada satu orang Kristen pun yang dibunuh, tidak ada juga perampasan, tebusan pun dibuat sangat rendah, bahkan mereka para tawanan dipelakukan dengan adil dan manusiawi. Dan ia pun membayarkan tebusan bagi tawanan yang tak dapat menebus dirinya dan membebaskannya. Ini gambaran sosok pemimpin yang berada di jalan Aqidah Islam yang berhati lembut lagi pemaaf.

Pada hari Jumat 27 Rajab 583 H Shalahuddin Al Ayyubi bersama dengan kaum muslimin memasuki Baitul Maqdis mereka meneriakan kalimat “Allahu Akbar”. Rasa syukur yang dalam atas kegembiraan yang didapat. Para ulama, Muhsinin datang mengucapkan salam penghormatan atas perjuangan yang telah berhasil. Apalagi tanggal itu bertepatan pada hari Jumat. Kaum muslimin tidak sempat melaksanakan sholat Jumat dikarenakan sempitnya waktu, karena mereka harus membersihkan masjid suci itu dari sisa-sisa babi, kayu-kayu salib gambar-gambar Rahib, patung-patung. Barulah pada Jumat berikutnya mereka melaksanakan sholat Jumat.

Dikuasainya kembali Yerussalem ke tangan kaum muslimin telah membuat Eropa menjadi marah dan berusaha kembali untuk melakukan peperangan. Merebut kembali kota suci tersebut. Pada akhirnya setiap serangan mereka dapat dipatahkan oleh pasukan Shalahuddin.

Kematian dan penghormatan kepadanya
Sebab-sebab kemenangannya adalah kepemimpinan yang mempersembahkan hidupnya untuk berjihad. Keyakinan Islam telah ada dalam jiwanya. Perasaannya menyala-nyala. Seorang yang amat toleran, merendah diri, sederhana pakaiannya, membelanjakan setiap dinar yang ada padanya untuk berjihad.

Selama berjihad ia membawa sebuah kotak yang selalu tertutup, yang amat dijaganya. Orang lain menyangka itu adalah emas permata atau sesuatu yang sangat berharga. Ternyata, itu adalah sebuah wasiat dan sehelai kain kafan yang dibeli dari usahanya sendiri. Ketika surat wasiat itu dibuka, tertulis tulisan yang dibuat olehnya,”Kafankanlah aku dengan kain kafan ini, yang pernah dibasahi dengan air zam-zam yang pernah mengunjungi ka’bah mulia dalam kubur Rasulullah SAW.

Seluruh kaum muslimin yang menyaksikan kewafatannya meneteskan air mata. Apabila sultan yang mengepalai Negara yang sangat luas dari Asia sampai Afrika hanya meninggalkan warisan 1 dinar dan 36 dirham. Tidak meninggalkan emas, tidak punya tanah atau ladang, villa, tempat peristirahatan. Padahal berpuluh-puluh tahun memegang jabatan panglima perdana menteri.

Kain yang dibuat kafannya betul-betul warisan beliau yang jelas-jelas halal dan sangat sederhana. Ia meninggal pada 7 Safar 589 H di usia 56 tahun. Dikuburkan di sebuah makam yang terletak di luar masjid Ummayah di Damsyik Syiria. Ia dikuburkan bersama pedangnya sebagai saksi kepahlawanannya.